วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสร้างเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง โลก รายวิชาวิทยาศาสตร์

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา


จากประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรใหม่

เรื่องโลก รายวิชา วิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยสังเกตว่านักศึกษาบางส่วนไม่สนใจที่จะเรียนเรื่องโลก และไม่เข้าใจเนื้อหา เพราะว่าเนื้อหาในเอกสารแบบเรียนมีลักษณะเป็นนามธรรมและไกลตัวผู้เรียน มีการบรรยายเป็นตัวอักษรและภาพประกอบค่อนข้างน้อย ผู้วิจัยคิดว่าควรมีการอธิบายรายละเอียดส่วนประกอบของโลกให้ผู้เรียนเห็นเป็นรูปธรรมมากกว่านี้

ดังนั้นผู้วิจัยจึงคิดหาวิธีให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะเรียนเรื่องโลก เพราะว่ามนุษย์ต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่ในโลกใบนี้ได้อย่างสมดุล จากการทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องนี้ทำให้ผู้วิจัยมีสื่อการสอนและสามารถช่วยให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการที่ดีขึ้นด้วย




วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อสร้างเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง โลก รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น


2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง โลก รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น

ตัวแปรที่ศึกษา

- ตัวแปรต้น ได้แก่ การใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง โลก รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น


- ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในการทำแบบฝึกหัดจากเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง โลก รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น


นิยามคำศัพท์เฉพาะ
1. เอกสารประกอบการเรียนการสอน หมายถึง เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลก ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องโลก


มากขึ้น

2. นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1/2553 หลักสูตรใหม่

ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลท่าอุเทน 2 อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

3. ความสามารถในการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน หมายถึง คะแนนที่ได้จากการตอบแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการสอน






ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักศึกษามีพฤติกรรมและพัฒนาการ การเรียนที่ดีขึ้น หลังจากใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง โลกรายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น


2. นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโลก มากขึ้น

3.ได้สื่อประกอบการเรียนการสอนเรื่อง โลก รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น






วิธีดำเนินการวิจัย / วิธีการดำเนินการแก้ปัญหา

1.ประชากร /กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา

1.1 ประชากร คือ นักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1/2553 หลักสูตรใหม่ ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลท่าอุเทน 2 อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม จำนวน 9 คน


1.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1/2553 หลักสูตรใหม่ ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม จำนวน 3 คน ที่เวลาเรียนเรื่องโลกแล้ว
จะไม่เข้าใจ และทำคะแนนได้น้อย กว่าเกณฑ์ที่กำหนด


2. เครื่องมือที่ใช้

เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง โลก ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น


มีขั้นตอนในการสร้าง ดังนี้

1.ขั้นตอนการเตรียมการ

- หาปัญหาเพื่อนำมาเขียนโครงร่างวิจัยก่อน

- ออกแบบนวัตกรรมโดยการศึกษาจากคู่มือการทำวิจัยในชั้นเรียน และจากอินเตอร์เน็ต

- ศึกษาเนื้อหาจากหนังสือรายวิชาวิทยาศาสตร์ พว 21001 หลักสูตร 2551 และจากอินเตอร์เน็ต

- กำหนดกรอบเนื้อหา ให้ตรงตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้

- การออกข้อสอบ ก่อนและหลังเรียนเป็นข้อสอบปรนัย มีความแม่นตรงตามเนื้อหา ข้อคำถามครอบคลุมเนื้อหาวิชาที่สอนและวัตถุประสงค์

- นำข้อสอบไปสอบถามผู้รู้ เพื่อหาความเที่ยงตรง ว่าข้อสอบมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด



2.ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน

- ศึกษาจากตัวอย่างเอกสารประกอบการเรียนการสอนจากทางอินเตอร์เน็ต และฉบับจริง ว่ามีการออกแบบและขั้นตอนเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบบทเรียน

- การกำหนดเนื้อหาพิจารณาเลือกเอาเนื้อหาที่มีใจความโดยรวมตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้

- ในการออกแบบปกและรูปเล่ม มีการค้นหารูปภาพที่จะนำมาใช้จากทางอินเตอร์เน็ตและหนังสือเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยตกแต่งภาพจากโปรแกรมโฟโต้สเคป เพื่อให้เอกสารประกอบการเรียนการสอนนี้มีความน่าสนใจ และทำให้นักศึกษามีความพึงพอใจหลังจากได้เอกสารประกอบการเรียนการสอนนี้

3.ขั้นตอนการผลิตเอกสารประกอบการสอน

- หน้าปกเลือกกระดาษโฟโต้ เพื่อจะให้รูปภาพออกมาแล้วสวยสมจริง และมีความน่าใช้

- เลือกเครื่องปริ้นเลเซอร์ เพื่อให้ภาพออกมาคมชัด



4.ขั้นตอนการประเมินและแก้ไขบทเรียน

- ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารประกอบการเรียนการสอน เช่น ดูว่าการพิมพ์ถูกต้องไหม? ถ้าพิมพ์ผิด ก็มีการแก้ไขให้ถูกต้อง

- นำเอกสารประกอบการเรียนการสอนให้เพื่อนครูช่วยดูและสะท้อนว่าเอกสารประกอบการเรียนการสอนมีลักษณะเป็นอย่างไร ต้องปรับปรุงส่วนไหนเพิ่มเติม



5.ขั้นตอนทดลองใช้เอกสารการเรียนประกอบการสอน

- นำเอกสารประกอบการเรียนการสอนไปให้นักศึกษากลุ่มครูท่านอื่นได้ทดลองใช้ และทำการสังเกต

- หลังจากใช้แล้วก็มาหาข้อบกพร่อง ว่าต้องเพิ่มเติมอะไร เนื้อหามากหรือน้อยไปเกินไปไหม?

หรือจะปรับเปลี่ยนส่วนไหนอีก

- สอบถามความพึงพอใจนักศึกษา ว่าก่อนและหลังจากใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนเป็นอย่างไรและมีข้อเสนอแนะอย่างไร



6.ขั้นตอนนำเอกสารไปใช้ในสถานการณ์จริง

- ครูมีการอธิบายก่อนว่าเอกสารประกอบการเรียนการสอนคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร และขั้นตอนต่างๆในการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน



7.ขั้นตอนประเมินผลการใช้

- ครูดูว่าก่อนและหลังใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นไหม? สามารถลดสภาพปัญหา หรือแก้ปัญหา หรือพัฒนาผู้เรียน ได้ตามที่กำหนดจุดพัฒนาไว้ไหม? ถ้าได้ก็สามารถรายงานผลการวิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมต่อไป




ข.ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย

- การกำหนดปัญหาและหาสาเหตุของปัญหา


ได้มาจากการสังเกตนักศึกษาบางส่วนเห็นว่าไม่สนใจเรียนเรื่องโลก

- กำหนดวิธีการแก้ปัญหาหรือแนวทางในการแก้ปัญหา

ศึกษาจากคู่มือการทำวิจัยในชั้นเรียนและอินเตอร์เน็ต

- หาเครื่องมือในการแก้ปัญหา

จากปัญหาผู้เรียน คือ ไม่สนใจเรียน สาเหตุ เพราะไม่น่าสนใจ ดังนั้นต้องจัดทำสื่อที่น่าสนใจ

จึงสร้างเอกสารประกอบการเรียนการสอน

- วิธีดำเนินการวิจัยหรือการดำเนินการวิจัย คือ ขั้นตอนการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน ผู้วิจัยดำเนินการ ดังนี้

1.ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม

2.ขั้นตอนการใช้นวัตกรรม

ซึ่งทั้ง 2 ข้อนี้ได้อธิบายไปในเรื่องเครื่องในการแก้ปัญหาแล้ว

- ให้ผู้รู้ช่วยดูและแนะนำ เพื่อนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น

- สร้างเอกสารประกอบการสอน อธิบายไปในเรื่องการแก้ปัญหาแล้ว

- นำเอกสารไปใช้ในสถานการณ์จริง

ครูมีการชี้แจงนักศึกษาก่อนใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนว่าต้องเริ่มทำจากตรงไหน และบอกนักศึกษาว่ามีใบความรู้ ใบงาน ข้อสอบเท่าไหร่ และเกณฑ์การผ่านเป็นอย่างไรด้วยตรวจข้อสอบ

ประเมินร้อยละความก้าวหน้า และแจ้งผลให้นักศึกษาทราบ

- เขียนรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน

ได้จากการทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนแล้วก็หาค่าเฉลี่ย คะแนนและร้อยละความก้าวหน้า

ค. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

1. แบบทดสอบก่อนและหลังใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน มีวิธีการสร้างโดยนำเอาคำถามในหนังสือเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ พว 21001 หลักสูตร 2551 และสร้างคำถามเพิ่มเติม

2. แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน



วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง โลก

รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง โลก เก็บรวบรวมข้อมูล จากนักศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรใหม่ ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลท่าอุเทน 2 อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม จำนวน 3 คน ที่เวลาเรียนเรื่องโลกแล้ว จะไม่เข้าใจ และทำคะแนนได้น้อย กว่าเกณฑ์ที่กำหนด




วิเคราะห์ข้อมูล

ใช้ค่าเฉลี่ยและร้อยละ


ผลการวิจัย

พบว่า โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 3.67 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 8โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 43.3 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 25) เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่านักศึกษาได้คะแนนเพิ่มขึ้นทุกคน แสดงว่านักศึกษาที่เรียนจากเอกสารประกอบการเรียนการสอน

เรื่อง โลก รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น มีความรู้ในการเรียนที่สูงขึ้น


จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจในการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน โดยจะเห็นได้จากคำพูดของนางสาวสุภิญญา เจริญวงศ์ ว่า “ เอกสารเล่มนี้อ่านแล้วเข้าใจง่าย เนื้อหาไม่มากจนเกินไป และมีสีสันสดใส และสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ” ,นายศักดิ์ศรี สงอินทร์ พูดว่า “โดยทั่วไปไม่รู้ว่าจะเอาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร แต่พอเห็นเอกสารประกอการเรียนการสอน เรื่องโลก ทำให้รู้สึกน่าสนใจ เลยอยากรู้ว่าเนื้อหาข้างในเป็นอย่างไร และทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้น” และ นายธนภูมิ จันทรา พูดว่า“ออกแบบสวย น่าอ่าน เนื้อหาเข้าใจง่าย ”



สะท้อนผลการวิจัย


1. ผู้วิจัย

จากการทำวิจัยเรื่องนี้ ทำให้ผู้วิจัยมีความรู้ ความเข้าใจในการสร้างนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น เพราะตอนที่เรียนปริญญาโทนั้นได้ศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์และไม่ได้มีการคิดค้นนวัตกรรม ทำให้ผู้วิจัยสามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้เป็นสื่อการสอนได้ และสามารถนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ผู้วิจัยจะนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์กับนักศึกษามากที่สุด

2. เพื่อนร่วมวิจัย

ครูฒาลิศา ทองดี พูดว่า “ จัดรูปเล่มได้สวย เลือกภาพสื่อความหมายได้ดีเหมาะกับเนื้อหา ”

ครูประภารัตน์ บุพศิริ พูดว่า “เนื้อหามากเกินไป กลัวว่านักศึกษา จะไม่อ่าน เสนอให้ทำเป็นเล่มละเรื่อง ส่วนรูปเล่ม สีสีน ดูแล้วน่าสนใจดี ”

ครูสุรัตนา แสงสว่าง พูดว่า “จุดเด่นของงานวิจัยเรื่องนี้อยู่ที่ความพยายามของครู ที่จะนำนวัตกรรมที่มีหลักในการสร้างมารองรับ มีการศึกษาข้อมูล ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องแบบฝึกหัด ที่ทันสมัยมาใช้พัฒนางานเรื่องนี้ และเป็นตัวอย่างที่ดี ในแง่การพัฒนานวัตกรรมโดยมีแนวคิดที่เหมาะสมมารองรับ”

3. นักศึกษา

นางสาวสุภิญญา เจริญวงศ์ พูดว่า “ เอกสารเล่มนี้อ่านแล้วเข้าใจง่าย เนื้อหาไม่มากจนเกินไป และมีสีสันสดใส และก็สามารถศึกษาด้วยตนเองได้ ”

นายศักดิ์ศรี สงอินทร์ พูดว่า “โดยทั่วไปไม่รู้ว่าจะเอาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร แต่พอเห็นเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่องโลก ทำให้รู้สึกน่าสนใจ เลยอยากรู้ว่าเนื้อหาข้างในเป็นอย่างไร และทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้น”

นายธนภูมิ จันทรา พูดว่า “ออกแบบสวย น่าอ่าน เนื้อหาเข้าใจง่าย ”

แนวทางการพัฒนา

ผู้วิจัยมีความภาคภูมิใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนในครั้งนี้ และคิดว่าการเรียนจากหนังสือเรียน
อย่างเดียวอาจทำให้นักศึกษาไม่เกิดความกระตือรือร้นที่จะศึกษา เราควรหาอะไรที่แปลกใหม่และทำให้นักศึกษาเกิดความสนใจและอยากที่จะเรียนรู้

ในการวิจัยครั้งต่อไป ผู้วิจัยเองจะออกแบบให้เนื้อหามีความน่าสนใจกว่านี้ คือจะทำให้นักศึกษาเข้าใจง่าย และจะนำภาพเข้ามาเกี่ยวข้องกับบทเรียน เพราะส่วนใหญ่นักศึกษาชอบดูภาพมากกว่าอ่านตัวหนังสือ และจะนำเอาเทคโนโลยีต่างๆมาเข้ามาใช้ในการสร้างนวัตกรรมให้มากที่สุด

ข้อเสนอแนะ

การนำเอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง โลก รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ไปใช้ ครูผู้สอนควรมีการอธิบาย หรือชี้แจงกับนักศึกษาก่อนลงมือใช้เอกสารประกอบการสอน

การเผยแพร่

 เป็นเอกสารในวันตลาดนัดความรู้ วันที่ 2 - 3 กันยายน 2553 และทาง http://angledevi57.blogspot.com/


ที่ปรึกษา

นายพันธ์ทิพย์ แก้วบุดตา ผู้อำนวยศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าอุเทน

นางสาวบุศลิน ช่างสลัก ครู

นางอภิรดี วันแก้ว ครู